001

001

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558

บทที่ 5 E-Marketing

E-Marketing หรือ “การตลาดอิเล็กทรอนิกส์
            หมายถึงการดำเนินกิจกรรมทาง การตลาดโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ทันสมัยและสะดวกต่อ การใช้งาน เข้ามาเป็นสื่อกลาง ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือพีดีเอ ที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันด้วยอินเทอร์เน็ต มาผสมผสานกับ วิธีการทางการตลาด การดำเนินกิจกรรมทางการตลาด



คุณลักษณะเฉพาะของ e-Marketing 
  • เป็นการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายในลักษณะเฉพาะเจาะจง (Niche Market) 
  • เป็นลักษณะเป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง (2 Way Communication) 
  • เป็นรูปแบบการตลาดแบบตัวต่อตัว (One to One Marketing หรือ Personalize Marketing) ที่ลูกค้าหรือ กลุ่มเป้าหมายสามารถกำหนดรูปแบบสินค้าและบริการได้ตามความต้องการของตนเอง
  • มีการกระจายไปยังกลุ่มผู้บริโภค (Dispersion of Consumer) 
  • เป็นกิจกรรมที่นักการตลาดสามารถสื่อสารไปยังทั่วทุกมุมโลก ตลอด 24 ชั่วโมง (24 Business Hours) 
  • สามารถติดต่อสื่อสาร โต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์ได้อย่างรวดเร็ว (Quick Response) 
  • มีต้นทุนต่ำแต่ได้ประสิทธิผล สามารถวัดผลได้ทันที(Low Cost and Efficiency)
  • มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมการตลาดแบบดั้งเดิม (Relate to Traditional Marketing) 
  • มีการตัดสินใจในการซื้อจากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ (Purchase by Information)

ความแตกต่างกันระหว่าง e-Marketing, e-Business และ e-Commerce
            E-Marketing คือรูปแบบการทำการตลาดในรูปแบบหนึ่งโดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือ ดิจิตอลเข้ามาช่วยในการทำการตลาด แต่ในความหมายสำหรับ E-Business หรือ Electronic Business นั้นจะมีความหมายที่ใกล้เคียงกับคำว่า E-Commerce หรือ Electronic Commerce มากกว่า เพียงแต่ ว่าความหมายของ E-Business จะมีขอบเขตที่กว้างกว่า โดยหมายถึงการทำกิจกรรมในทุก ๆ ขั้นตอนของ กระบวนการธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกว่า “ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์” ทั้งการทำการค้าการซื้อการ ขาย การติดต่อประสานงาน งานธุรการต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายใน ำนักงาน และการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นกระบวนการในการดำเนินการทางธุรกิจที่อาศัยระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์มาใช้ในการ ดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (Added Value) ตลอดกิจกรรมทางธุรกิจ (Value Chain) และลดขั้นตอนของการที่ต้องอาศัยแรงงานคน (Manual Process) มาใช้แรงงานจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computerized Process)แทน รวมถึงช่วยให้การ ดำเนินงานภายใน ภายนอก มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้ามากขึ้น อีกด้วย 

ลักษณะการนำ E-Business มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้แก่
  • การเชื่อมต่อระหว่างกัน ภายในองค์กร (Intranet)
  • การเชื่อมต่อระหว่างกัน กับภายนอกองค์กร (Extranet) 
  • การเชื่อมต่อระหว่างกัน กับลูกค้าทั่วโลก (Internet) 

ความแตกต่างระหว่าง e-marketing, e-business และ e-commerce



ประโยชน์ของ e-Marketing
        E-Marketing เป็นกระบวนการในการจัดการทาง การตลาด โดยมีการเน้นย้ำถึงการให้ความสำคัญแก่ลูกค้าเป็นหลัก ในขณะที่ แสดงถึงการเชื่อมโยงการทำงานทางธุรกิจในอันที่จะช่วยสร้างความสำเร็จใน ผลกำไรให้กับธุรกิจ

ประโยชน์ของการนำ e-Marketing มาใช้ 5Ss’
       การขาย (Sell) ช่วยทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นจากการทำการตลาดออนไลน์ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่ช่วย ให้ทำให้ลูกค้ารู้จักและเกิดความทรงจำ (Acquisition and Retention tools) ในสินค้าบริการ เราเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การขายที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย  
       การบริการ (Serve) การสร้างประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นให้แก่ลูกค้า จากการใช้บริการผ่านออนไลน์ไม่ว่า จะเป็นการให้สิทธิพิเศษต่างๆ เป็นต้น)
       การพูดคุย (Speak) การสร้างความใกล้ชิดกับลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดยสามารถสร้างแบบสนทนาการ โต้ตอบกันได้ระหว่างกันได้ (Dialogue)ทำให้ลูกค้าสามารถเข้ามาสอบถาม ตลอดจนสามารถ สำรวจความคิดเห็น ความต้องการของลูกค้า ลูกค้ามีความสนใจในเรื่องใดเป็นพิเศษ
       ประหยัด (Save) การสร้างความประหยัดเพิ่มขึ้นจากงบประมาณการพิมพ์กระดาษ โดยสามารถ ใช้วิธีการส่งจดหมายข่าว E-Newsletter ไปยังลูกค้าแทนการส่งจดหมายแบบดั้งเดิม
       การประกาศ (Sizzle) การประกาศสัญลักษณ์ ตราสินค้าผ่านออนไลน์ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างสินค้า ของเราให้เป็นที่รู้จัก มีความคุ้นเคยมากยิ่งขึ้น

กระบวนการในการจัดการทางการตลาดของ e-Marketing
       การจำแนกแยกแยะ (Identifying) สามารถทำการจำแนกแยกแยะได้ว่าลูกค้าเป็นใคร มีความ ต้องการอย่างไร อยู่ที่ไหน และมีพฤติกรรมในการเลือกซื้อสินค้าอย่างไร โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามา ช่วย 
       การทำนายความคาดหวังของลูกค้า (Anticipating) เนื่องจากความสามารถของอินเทอร์เน็ต นั้นช่วยเพิ่มช่องทางให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูล และสามารถซื้อสินค้าได้สะดวกยิ่งขึ้น โดย การเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำ E-Marketing ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์สายการบินต้นทุนต่ำ easy Jet (http://www.easyjet.com) มีส่วนสนับสนุนทำให้มี รายได้จากการผ่านออนไลน์กว่า 90%
      สนองความพอใจของลูกค้า (Satisfying) ถือเป็นความสำเร็จในการทำ E-Marketing ในการ สร้างความพอใจให้แก่ลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ การเพิ่มขึ้นของลูกค้านั้นอาจจะมาจาก การใช้งานง่าย การสนับสนุนการให้บริการแก่ลูกค้า เป็นต้น 



หลักการของ e-Marketing
       - การตลาดยุค E เน้นการใช้Mass Customization มากกว่า Mass Marketing เพราะลูกค้าทุก คนมีสิทธิ์เลือกเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลกเพื่อหาสินค้าที่ตนเองต้องการ เพราะฉะนั้น เราต้องเน้น ระบบที่สนองตอบความต้องการของลูกค้าแต่ละคนเป็นหลัก ทั้งนี้เราจักต้องสร้าง ระบบ โปรแกรมอัตโนมัติขึ้นมาตอบสนองความต้องการดังกล่าว โดยให้แต่ละคนสามารถเลือก ทางเลือกที่สนองความต้องการได้ด้วยตนเอง 
      การแบ่งส่วนตลาดต้องเป็นแบบ Micro Segmentation หรือ One-to-One Segmentation หมายถึง หนึ่งส่วนตลาดคือ ลูกค้าหนึ่งคน เพราะในตลาดบนเว็บถือว่าลูกค้า เป็นใหญ่ เนื่องจาก มีสิทธิ์ที่เลือกซื้อสินค้าใครก็ได้ ยกเว้นแต่เราเป็นเพียงรายเดียวที่มีอยู่ใน ตลาด ฉะนั้นการ พิจารณาข้อมูลความต้องการ หรือพฤติกรรมของลูกค้าทุกคน โดยอาศัยระบบฐานข้อมูลที่ ตรวจจับพฤติกรรมของลูกค้าแต่ละราย ได้ถือเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญมาก หรือในแง่ ของการจัดการแล้วเราเรียกว่า CRM หรือ Customer Relationship Management นั่นเอง เพราะนี่จะทำให้เราทราบว่า ใครคือลูกค้าประจำ
       การวางตำแหน่งสินค้า (Positioning) ต้องเป็นไปตามความต้องการแต่ละบุคคล หรือ Migrationing การวางตำแหน่งสินค้าเพื่อให้ลูกค้ารับรู้นั้น ต้องวางตามความต้องการของแต่ละ บุคคล และหากความต้องการนั้นเปลี่ยนไป ระบบก็ต้องเคลื่อนตำแหน่งของการวางนั้นไป สนองตอบต่อความต้องการใหม่ด้วย
       ให้เราเป็นหนึ่งในเว็บที่ลูกค้าจำได้การ สร้างความจดจ าเพื่อให้จำเว็บไซต์เราการจดชื่อโดเมนที่ ทำให้จดจำง่าย หรือมีความหมายที่สอดคล้องกับเนื้อหาของเว็บไซต์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก 
       ต้องรู้ ความต้องการลูกค้าล่วงหน้า จำเป็นจักต้องติดตามพฤติกรรมการซื้อของกลุ่มเป้าหมาย โดยตลอด
       ต้องรู้ ความต้องการลูกค้าล่วงหน้า จำเป็นจักต้องติดตามพฤติกรรมการซื้อของกลุ่มเป้าหมาย โดยตลอด 
       ต้องปรับที่ตัวสินค้าและราคาเป็นหลัก สินค้าถือเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุด จำเป็นอย่างยิ่งที่จักต้อง เทียบกับคุณค่าของสินค้า และคู่แข่งเสมอว่า ใครสนองตอบต่อความต้องการได้ดีกว่ากัน 
       ต้องให้ลูกค้าตกแต่งสินค้าตามความต้องการได้โดยอัตโนมัติ (Customization & Personalization) วิธีที่ให้ลูกค้าได้รับ คุณค่า หรือสนองความต้องการได้ดีที่สุด ก็คือ การให้ ลูกค้าได้เลือกหรือตกแต่งสินค้าเอง รวมทั้งการคำนวณราคาด้วย ฉะนั้น การให้ Options ให้ ลูกค้าได้เลือกมากที่สุด จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

ส่วนผสมทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์
  • ผลิตภัณฑ์(Product) 
  • ราคา (Price) 
  • สถานที่ (Place) 
  • การส่งเสริมการขาย (Promotion) 
  • เครือข่ายสังคม (Social Network) 
  • การขายบนเว็บไซต์ 
  • การบริการลูกค้า 
  • ระบบป้องกันความปลอดภัย
  • ระบบฐานข้อมูลลูกค้าเพื่อน ามาใช้ในการบริการ (Personalization Service)


การวางแผน e-marketing
แผน e-marketing เป็นสิ่งจำเป็นในรายละเอียดวัตถุประสงค์เฉพาะของกลยุทธ์ E-Business ผ่านกิจกรรมทางการตลาด

การวางแผนการตลาด

7 ขั้นตอนสำหรับการทำ e-Marketing
ขั้น 1 กำหนดวัตถุประสงค์(Set Objective)
ขั้น 2 การกำหนดกลุ่มเป้าหมายด้วยวิธี 5W+1H
ขั้น 3 วางแผนงบประมาณ มีเงินเท่าไร จะใช้เท่าไร
ขั้น 4 กำหนดแนวความคิดและรูปแบบ หาจุดขาย ลูกเล่น
ขั้น 5 การวางแผนกลยุทธ์ และสื่อ ช่วงเวลา
ขั้น 6 การดำเนินการตามแผนที่ได้วางไว
ขั้น 7 วัดผลและประเมินผลลัพธ์


6 Cs กับความสำเร็จของการทำเว็บ

1. Content (ข้อมูล)
2. Community (ชุมชน,สังคม)
3. Commerce (การค้าขาย)
4. Customization (การปรับให้เหมาะสม)
5. Communication, Channel (การสื่อสารและช่องทาง)
6. Convenience (ความสะดวกสบาย)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น