e-government
คือ
วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลงานของภาครัฐ
และปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน
และการบริการด้านข้อมูลเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
และทาให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับรัฐมากขึ้นโดยการใช้เทคโนโลยีจะนามาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพของการเข้าถึง
และการให้บริการของรัฐ โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มคน 3 กลุ่ม คือ
ประชาชน ภาคธุรกิจและข้าราชการเอง
ผลพลอยได้ที่สาคัญที่เราจะได้รับคือความโปร่งใสที่ดีขึ้นอันเนื่องมากจากการเปิดเผยข้อมูลที่หวังว่าจะนาไปสู่การลดคอรัปชั่น
หากเทียบกับ e-commerce แล้ว e-government คือ G-to-G1 Transaction และมีลักษณะเป็น intranet
มีระบบความปลอดภัย
เพื่อทาให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานของรัฐ
ในขณะที่ e-services เทียบได้กับ B-to-G2 และ G-to-C3 Transaction ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการให้บริการ
โดยภาคธุรกิจกับประชาชนคือผู้รับบริการ
e-government หรือรัฐอิเล็กทรอนิกส์
ประกอบด้วยหลักการที่เป็นแนวทาง 4 ประการคือ
1.สร้างบริการตามความต้องการของประชาชน
2.ทำให้รัฐและการบริการของรัฐเข้าถึงได้มากขึ้น
3.เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยทั่วกัน
4.มีการใช้สารสนเทศที่ดีกว่าเดิม
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
หรือที่เรียกว่า e-government คือ
วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานภาครัฐ
ปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน
การบริการด้านข้อมูลและสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
ประชาชนมีความใกล้ชิดกับภาครัฐมากขึ้น
สื่ออิเล็กทรอนิกส์จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเข้าถึงบริการของรัฐ
ประการสำคัญจะต้องมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและเต็มใจจากทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ ภาครัฐ ภาคธุรกิจและประชาชน ผลพลอยได้ที่สำคัญที่จะได้รับคือ
ธรรมาภิบาลและความโปร่งใสที่มีมากขึ้นในกระบวนการทำงานของระบบราชการ
อันเนื่องมาจากการเปิดเผยข้อมูล และประชาชนสามารถเข้ามาตรวจสอบได้ตลอกเวลาจึงคาดว่าจะนำไปสู่การลดคอร์รัปชันได้ในที่สุด
การแบ่งกลุ่มตามผู้รับบริการของ e-government
G2G : ภาครัฐสู่ภาครัฐด้วยกัน (Government
to Government)
G2C : ภาครัฐสู่ประชาชน (Government to
Citizen)
G2B : ภาครัฐสู่ภาคธุรกิจ (Government to
Business)
G2E : ภาครัฐสู่ภาคข้าราชการและพนักงานของรัฐ (Government
to Employee)
1.รัฐกับประชาชน(G2C)
เป็นการให้บริการของรัฐสู่ประชาชนโดยตรง
โดยที่บริการดังกล่าวประชาชนจะสามารถดาเนินธุรกรรมโดยผ่านเครือข่ายสารสนเทศของรัฐ
เช่น การชาระภาษี การจดทะเบียน การจ่ายค่าปรับ
การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแทนประชาชนกับผู้ลงคะแนนเสียงและการค้นหาข้อมูลของรัฐที่ดาเนินการให้บริการข้อมูลผ่านเว็บไซต์
เป็นต้น โดยที่การดาเนินการต่าง ๆ นั้นจะต้องเป็นการทางานแบบ Online และ Real Time มีการรับรองและการโต้ตอบที่มีปฏิสัมพันธ์
2.รัฐกับเอกชน(G2B)
เป็นการให้บริการขภาคธุรกิจเอกชน
โดยที่รัฐจะอานวยความสะดวกต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันกันโดยความเร็วสูง
มีประสิทธิภาพ และมีข้อมูลที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส เช่น
การจดทะเบียนทางการค้า การลงทุน และการส่งเสริมการลงทุน การจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์
การส่งออกและนาเข้า การชาระภาษี และการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก
3.รัฐกับรัฐ(G2G)
เป็นรูปแบบการทางานที่เปลี่ยนแปลงไปมากของหน่วยราชการ
ที่การติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดยกระดาษและลายเซ็นต์ในระบบเดิมในระบบราชการเดิม
จะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยการใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ
4.รัฐกับข้าราชการและพนักงานของรัฐ(G2E)
เป็นการให้บริการที่จาเป็นของพนักงานของรัฐ
(Employee) กับรัฐบาล
โดยที่จะสร้างระบบเพื่อช่วยให้เกิดเครื่องมือที่จาเป็นในการปฏิบัติงาน
และการดารงชีวิต เช่น ระบบสวัสดิการ ระบบที่ปรึกษาทางกฎหมาย
และข้อบังคับในการปฏิบัติราชการ ระบบการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น